วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

Using Original Video and Sound Effects to Teach English



Using Original Video and
Sound Effects to Teach English
Forum 2012, Volume 50, Number 1
        Creating specific lessons for different language skills is challenging and time consuming for English teachers, but it is definitely worth the effort. In my experience, teaching language skills through mechanical exercises and traditional fill-in-the-blank, true/false, and multiple-choice assessments does not interest students as much as we expect. This fact inspired me to consider lively, interesting,and meaningful contexts and materials. Although the mechanical exercises and supplementary materials in resource books are useful—and I use a variety of them myself—they do not energize my students. But when I go creative,especially when teaching grammar,in a way students do not expect, I can clearly see the difference. This article will suggest a motivating way to teach grammar with audiovisual techniques, with an example of a lesson on teaching modals of speculation that express degrees of certainty (e.g., may, might, could, couldn't).

Media in the language classroom
        A well-known way to create meaningful context for teaching English is through using media, which can be delivered through a wide variety of print, audio, and visual formats.The current information age requires
teachers to be familiar with media and media literacy. Thoman (2003) argues that media literacy has an
influential role in educational programs, including second language learning. Media can be integrated
into language lessons in a variety of ways by developing activities based on radio programs, television shows,
newspapers, and videos.
        Rucynski (2011) integrates television into English as a Second/Foreign Language (ESL/EFL) instruction
by demonstrating how a variety of English lessons can be taught with The Simpsons, a famous American
animated TV series with more than 400 episodes. Radio programs are also an excellent source for teaching
ideas because “it is well accepted that language is better acquired or learned where the focus is on interesting content,and radio can certainly provide interesting content” (Bedjou, 2006, 28). Bedjou (2006) introduces a number of English teaching activities that can be organized around radio programs, specifically VOA Special English programs, and points out the significance of radio as an English teaching tool: “Radio can bring authentic content to the classroom,especially in the EFL environment, where it may not be easy to meet and talk with native speakers of English” (28). Newspapers are another authentic and readily available source for pedagogical material. Pemagbi (1995) notes that the availability, affordability, and relevance of newspapers make them good teaching tools.
Videos in the classroom
        Integrating videos into lessons creates enticing visuals and a special interactive environment in the EFL/ESL classroom. Teaching English through videos also allows teachers to be creative when designing language lessons.As Cundell (2008, 17) notes, “One of the most powerful ways that video can be integrated
into courses is for the visual representation they provide for learners on otherwise abstract concepts.” This is the idea that compelled me to use a homemade video to teach a one-hour “modals of speculation” lesson for
my intermediate students. Videos permitted me to provide my students with audiovisual stimuli to introduce these important modal auxiliaries in a way that made sense to my students.
       Rather than search for a video online, I chose to accept the challenge and make my own short video for the lesson. An important point is that I am not an expert in video recording, but I do know how to use my
camcorder.
Making the video
        To create the desired context to teach modals of speculation, I produced a video to create a speculative context. I first asked someone to videotape me doing actions that generated different sounds while I was getting ready to leave the house for work. These scenes included:
  • brushing my teeth with an electric toothbrush
  • blow drying my hair
  • ironing my clothes with steam
  • using a whistling kettle to boil water
  •  pouring water into a cup
  • toasting a piece of bread in the toaster
  • leaving the tap dripping
  • spraying air freshener
  • leaving my cell phone ringing
  • locking the door
  • waiting for and entering an elevator
  • turning on the ignition of the car
       While I was doing all these actions, a friend followed me and recorded everything.Even if you do not have anyone to videotape you, you can still make the video by carrying the camera and filming yourself.
Video transfer options
       If your class is equipped with a computer and video projector, or you have access to a computer lab, you can record the video using a digital camera or even your mobile phone.Then the only thing you need to do is to insert the camera’s (or the mobile phone’s)memory card into your laptop’s memory stick slot, insert your USB into your laptop’s USB slot, and transfer the video from the memory card to the USB. You can even send the video to your own email account as an attachment if the file is not too big. After recording, I took my camcorder to a local store and had the video transferred to a VHS videotape format,which was necessary because we depend on a TV set and a video player to play the videos.
Setting up the video lesson
       Harmer (2007, 310) suggests a variety of viewing techniques when using films and videos
in listening activities, including:
  • Silent viewing (playing the video without the sound)
  • Freeze framing (freezing the picture and asking the students what they think will happen next)
  • Partial viewing (covering most of the screen with a piece of paper)
  • Picture or speech (half the class watches the video while the other half faces away)
  • Subtitled films (students see and hear the English language)
  • Picture-less listening (listening to the audio before watching the video)
      To awaken students’ curiosity, I made use of picture-less technique and had my students listen to the sound of the video first. To focus on modals of speculation, students listen and guess the origin of the sounds they hear in the video. This arouses their curiosity and invites them to speculate.
As Harmer (2007) notes, there are three ways of using this picture-less listening technique when a TV set is available in your classroom: (1) cover the screen with a piece of paper, (2) turn the screen away from students, or (3) turn the brightness control all the way down. If your class is equipped with a computer and video projector, you can simply turn off the projector and have your students listen to the sound. You can also keep the projector on and minimize the window so that the students cannot see the video. You
may also ask the students to close their eyes and just listen to the sound, or to move their chairs and sit with their backs to the screen.
       I wanted to create a speculating environment from the very beginning of the lesson,so I wrapped the whole screen in newspaper before the beginning of the class. As soon as the students entered the class they were faced with a covered TV, a sight that got their attention; they immediately began speculating why the TV was covered. I could see they were all surprised, and they wanted to know why I had covered the TV. They started talking to each other and guessing why I had done that.A couple of students even asked me why the TV was covered, and I asked them to wait for a moment to see why, and this made them even more curious. Since the students were very excited, I gave them a couple of minutes to talk to each other because what was happening in the class was helping me build the desirable context.
Teaching the video lesson
        I began by explaining to the students that they were going to listen to a series of sounds and had to guess the origin, which was why I had covered the TV. The students were intrigued. I asked them to note their thoughts while I played the audio of the videotape. To illustrate the procedure and make sure they all
understood the instructions, I played the first scene and asked them to guess what the sound was. Then I continued, pausing at the end of each scene for about 15 seconds to allow them to make notes. I repeated this same process until they had listened to the whole video.Then I played the video again while they checked their notes. Next, students formed pairs and took three minutes to discuss their notes with their partner. Students enjoyed discussing their very different ideas about the origin of the sounds they had heard.
       Students then listened to the video once more. But this time, at the end of each scene they discussed their ideas together. After making sure they all understood the instructions,I played the video once more, pausing at the end of each scene to ask them to identify the sound. By asking questions, I encouraged them to use the appropriate grammatical structures.For instance, when I played the part where I was blow drying my hair, I asked, “What could it be? Could it be a vacuum cleaner?” One student said, “Yes, it might be a vacuum cleaner,” whereas another one said, “No, it can’t be a vacuum cleaner.” When they were not able to
use the structure, I prompted them to use the modal construction by asking tag questions,such as “It can’t be a vacuum cleaner, can it?”In order to respond to my question, students had to use the teaching point.
I elicited their answers—for example, “It might be a vacuum cleaner” or “It can’t be a washing machine”—and wrote them on the board. Then I underlined the “modal + verb to be” with another color to help them notice the new structure. I continued the process about the origin of all the sounds in the video, and I produced a list of their speculations on the board where the new structure and the modals were underlined and highlighted. Then I removed the newspaper from the TV screen and let them watch the entire video. This was the most interesting part of the lesson because the students had a lot of fun, laughing at some of their speculations.Finally, in order to teach the students where exactly each of the modals on the board could be used, I asked them which of these structures was used for expressing possibility,probability, certainty, and impossibility, and wrote these terms on the board right below the underlined structures. For instance, I
asked, “When do we usually use ‘must +be’? Do we use it when we are certain about something? Or do we use is when we think something is possible?” Some of the students said, “When we are certain about it.” Then I wrote “certainty” on the board right below the structure. Finally, I reviewed the new structures and their usages with the students and answered their questions.

Suggestions for variation
       The idea behind video and sound effects lessons can be used to teach a variety of content such as grammar, vocabulary, and creative writing to a wide range of ESL/EFL students.
Teaching grammar
       The same video can be used to teach different  grammar points, such as present and past simple, present and past progressive, future simple, and “going to + infinitive” without to, all by using the technique of freeze framing.In order to teach grammar, you need to play the video, freeze framing the picture after each scene, and then ask questions. For instance, freeze frame the picture and ask your students questions like, “What is s/he doing?”“What did s/he do?” “What was s/he doing?”“What is s/he going to do next?” or “What will happen next?” In this way students will be prompted to use the teaching point. Once you elicit their answers, write them on the board and highlight the structure (e.g., “to be+ ing” form of the verb for present progressive,or “will + infinitive” without to for future simple). Since the video consists of a sequence
of action, adverbs like first, second, finally,before, and later can also be introduced to and practiced with students.
Teaching vocabulary
       The same video that I used with my students can be used to teach vocabulary items on home and kitchen appliances by recording sounds and having students guess the origin.Being careful to respect people’s privacy, you can also take the camera around the school, or even outside the school, and record a variety of interesting sounds. For instance, you can record the sound of students playing at recess,the period between classes, or sounds in the lunchroom and then play the video for your students and have them guess the source of the sound. Or you can record the sounds in a busy coffee shop, a nearby underground
station, or a noisy shopping center and play a guessing game with students. You can even teach vocabulary about different jobs by taking your camera with you to record the butcher who is cutting or grinding meat or
the cashier who opens the register and returns your change.
       Another interesting variation is to enlist your students to record videos. For example,you can ask them to record sounds during a picnic or some other activity they do on the weekend. These videos can become part of your repertoire to teach grammar and vocabulary. If you think your students might not have access to a camera, you can give them the option of recording sounds with their MP3 and MP4 players.
Teaching writing
        The same video that I used in my class can be used as a visual prompt for writing assignments at different levels of English. As George (2002, 12) points out, “Our students have a much richer imagination for what we might accomplish with the visual than our journals have yet to address.” To use videos in the writing class, you can show the video to your students using the picture-less listening technique and ask them to write a story based on the sounds they hear in the video. You do not even have to show them the video, as the soundtrack itself serves as an effective audio prompt for writing. You can also ask your students to videotape random scenes around them and bring their videos to class. Then they can watch the videos together and create stories that match the videos.
Conclusion
        Finding appropriate teaching materials is not that hard, as our everyday life serves as a perfect resource for creating effective lessons and activities. An effective lesson does not necessarily require expensive and high-tech materials;oftentimes, breaking the routines will excite students, engage them in the lesson, and teach
them the real use of language in context. Thus,one of the easiest and least expensive ways for teachers to prepare the most effective teaching materials is to look around and never underestimate
their sense of creativity.

                                                                     อ้าวอิง: americanenglish.state.gov/.../50_1_4_yassaei....

การใช้วิดีโอดั้งเดิมและเสียงที่มีผลต่อการสอนภาษาอังกฤษ


       วิธีที่รู้จักกันดีในการสร้างบริบทที่มีความหมายสำหรับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเป็นผ่านการใช้สื่อที่สามารถส่งผ่านทางที่หลากหลายของสิ่งพิมพ์แบบเสียงและรูปแบบภาพ ยุคข้อมูลข่าวสารในปัจจุบันต้องการครูที่จะคุ้นเคยกับสื่อและสื่อความรู้
       Thoman (2003) กล่าวว่าการรู้เท่าทันสื่อเป็นบทบาทที่มีอิทธิพลในการศึกษารวมทั้งการเรียนรู้ภาษาที่สอง สื่อสามารถบูรณาการเข้าเรียนภาษาในหลายวิธีโดยการพัฒนากิจกรรมตามรายการวิทยุ, รายการโทรทัศน์,หนังสือพิมพ์และวิดีโอ
       Rucynski (2011) รวมโทรทัศน์เป็นภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองสอง / ภาษาต่างประเทศ (ESL / EFL) การเรียนการสอนที่แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายของวิธีการเรียนภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ยังมีแหล่งที่ดีสำหรับความคิดการเรียนการสอนเพราะ "มันเป็นที่ยอมรับกันดีว่าภาษาจะได้รับดีขึ้นหรือเรียนรู้ที่มุ่งเน้นเป็นเนื้อหาที่น่าสนใจและวิทยุแน่นอนสามารถให้เนื้อหาที่น่าสนใจ"
       การบูรณาการวิดีโอลงในบทเรียนโดยการสร้างภาพจริงล่อลวงและสภาพแวดล้อมแบบโต้ตอบพิเศษในห้องเรียน EFL / ESL การสอนภาษาอังกฤษผ่านวิดีโอยังช่วยให้ครูมีความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบการเรียนภาษา
       ครูสามารถใช้วิดีโอช่วยในการสอนไวยากรณ์, สอนคำศัพท์ และสอนการเขียนรูปแบบต่างๆ การหาวัสดุการเรียนการสอนที่เหมาะสมนั้นไม่ยาก สำหรับการสร้างบทเรียนที่มีประสิทธิภาพและกิจกรรมบทเรียนที่มีประสิทธิภาพไม่จำเป็นต้องมีราคาแพงและวัสดุเทคโนโลยีชั้นสูง นักเรียนจะมีส่วนร่วมในบทเรียนและครูสอนพวกเขาโดยการให้ใช้งานจริงของภาษาในบริบท ดังนั้นหนึ่งในวิธีที่ง่ายและมีราคาไม่แพงสำหรับครูเพื่อเตรียมความพร้อมที่มีประสิทธิภาพสูงสุดสื่อการสอนคือการมองไปรอบ ๆ และไม่ประมาทความรู้สึกของความคิดสร้างสรรค์


Multiple Intelligence

ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligence) 

       นักเรียนมีความแข็งแรงที่แตกต่างกัน พวกเขามีจุดแข็งเฉพาะตัวและเป็นจุดแข็งที่ไม่ซ้ำกัน ซึ่่งมักจะไม่นำมาพิจารณาในสถานการณ์ในห้องเรียน การ์ดเนอร์ ได้เสนอว่าปัญญาของมนุษย์มีอยู่อย่างน้อย 9 ด้าน ดังนี้
  • Verbal-Linguistic Intelligence (ปัญญาด้านภาษา) คือ ความสามารถในการใช้ภาษารูปแบบต่างๆ ตั้งแต่ภาษาพื้นเมือง จนถึงภาษาอื่นๆ ด้วย สามารถรับรู้ เข้าใจภาษา และสามารถสื่อภาษาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ตามที่ต้องการ 
  • Mathematical-Logical Intelligence (ปัญญาด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์) คือ ความสามารถในการคิดแบบมีเหตุและผล การคิดเชิงนามธรรม การคิดคาดการณ์ และการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ 
  • Musical Intelligence (ปัญญาด้านดนตรี) คือ ความสามารถในการซึมซับ และเข้าถึงสุนทรียะทางดนตรี ทั้งการได้ยิน การรับรู้ การจดจำ และการแต่งเพลง สามารถจดจำจังหวะ ทำนอง และโครงสร้างทางดนตรีได้ดี และถ่ายทอดออกมาโดยการฮัมเพลง เคาะจังหวะ เล่นดนตรี และร้องเพลง
  • Visual-Spatial Intelligence (ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์) คือ ความสามารถในการรับรู้ทางสายตาได้ดี สามารถมองเห็นพื้นที่ รูปทรง ระยะทาง และตำแหน่ง อย่างสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน แล้วถ่ายทอดแสดงออกอย่างกลมกลืน มีความไวต่อการรับรู้ในเรื่องทิศทาง
  • Bodily-Kinesthetic Intelligence (ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว) คือ ความสามารถในการควบคุมและแสดงออกซึ่งความคิด ความรู้สึก โดยใช้อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงความสามารถในการใช้มือประดิษฐ์ ความคล่องแคล่ว ความแข็งแรง ความรวดเร็ว ความยืดหยุ่น ความประณีต และความไวทางประสาทสัมผัส
  • Interpersonal Intelligence (ปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์) คือ ความสามารถในการเข้าใจผู้อื่น ทั้งด้านความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ และเจตนาที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใน มีความไวในการสังเกต สีหน้า ท่าทาง น้ำเสียง สามารถตอบสนองได้อย่างเหมาะสม สร้างมิตรภาพได้ง่าย เจรจาต่อรอง ลดความขัดแย้ง สามารถจูงใจผู้อื่นได้ดี เป็นปัญญาด้านที่จำเป็นต้องมีอยู่ในทุกคน
  • Intrapersonal Intelligence (ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง) คือ ความสามารถในการรู้จัก ตระหนักรู้ในตนเอง สามารถเท่าทันตนเอง ควบคุมการแสดงออกอย่างเหมาะสมตามกาลเทศะ และสถานการณ์ รู้ว่าเมื่อไหร่ควรเผชิญหน้า เมื่อไหร่ควรหลีกเลี่ยง เมื่อไหร่ต้องขอความช่วยเหลือ มองภาพตนเองตามความเป็นจริง รู้ถึงจุดอ่อน หรือข้อบกพร่องของตนเอง ในขณะเดียวกันก็รู้ว่าตนมีจุดแข็ง หรือความสามารถในเรื่องใด มีความรู้เท่าทันอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด ความคาดหวัง ความปรารถนา และตัวตนของตนเองอย่างแท้จริง
  • Naturalist Intelligence (ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา) คือ ความสามารถในการรู้จัก และเข้าใจธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง เข้าใจกฎเกณฑ์ ปรากฏการณ์ และการรังสรรค์ต่างๆ ของธรรมชาติ มีความไวในการสังเกต เพื่อคาดการณ์ความเป็นไปของธรรมชาติ มีความสามารถในการจัดจำแนก แยกแยะประเภทของสิ่งมีชีวิต ทั้งพืชและสัตว์
  • Existential Intelligence (ปัญญาด้านอัตถภวนิยม จิตนิยมหรือการดำรงคงอยู่) คือ  ความไวและความสามารถในการจับประเด็นคำถามที่เกี่ยวกับการดำรงอยู่ของมนุษย์ เช่นความหมายของชีวิต ทำไมคนเราถึงตาย และเรามาอยู่ที่นี้ได้อย่างไร
เพลง ทฤษฎีพหุปัญญา


Whole Language Apporach

การสอนภาษาแบบองค์รวม(Whole Language Approach)

        นักการศึกษามีความเชื่อว่า ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้ดีที่สุด เมื่อผู้เรียนเรียนรู้ภาษาชิ้นต่อชิ้น แต่พวกเขาจะทำงานเมื่อเข้าใจเนื้อหาทั้งหมด การจัดสภาพการณ์ให้เด็กเรียนรู้การสื่อสารซึ่งกันและกันอย่างมีปฏิสัมพันธ์และมีความหมายด้วยสถานการณ์จริง และเรียนรู้การใช้ภาษาเป็นองค์รวมโดยไม่แยกกิจกรรมการอ่าน การเขียน การพูด และการฟังออกจากกัน สร้างบรรยากาศการเรียนรู้การอ่านจากผลงานการเขียน เรียนรู้การเขียนจากการอ่าน เรียนรู้ภาษาจากสภาพแวดล้อม วรรณกรรมและการเลียนแบบ กระตุ้นให้เด็กแสดงการสื่อสารผ่านกระบวนการคิดตลอดเวลาและใช้ภาษาจากแรงจูงใจภายในไม่ใช่การบังคับ ส่งเสริมให้เด็กกล้าพูด กล้าอ่าน และกล้าเขียนโดยไม่กลัวผิด
  • Vygotsky (1987) มีความเชื่อเกี่ยวกับธรรมชาติของการเรียนรู้ทางสังคม
วิดีโอเพื่อศึกษาเพิ่มเติม





Cooperative Learning

Cooperative Learning (การเรียนรู้แบบร่วมมือ)

         การเรียนรู้แบบร่วมมือ หมายถึง การจัดกิจกรรมเป็นกลุ่มย่อยโดยสมาชิกทุกคนต้องมีหน้าที่รับผิดชอบในสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งสมาชิกต้องเข้าใจในกระบวนการการทำงานในลักษณะเผชิญหน้า เป็นการเน้นการปฏิบัติงานให้มีความสำเร็จในกลุ่มย่อย

หลักการ
  1. ให้ผู้เรียนทำงานเป็นกลุ่ม
  2. ผู้เรียนต้องอยู่กลุ่มเดิมสักระยะหนึ่ง
  3. ความพยายามของแต่ละบุคคลในการช่วยเหลือไม่เพียงแต่ตัวบุคคลนั้นที่จะได้รับผลตอบแทน แต่บุคคลอื่น ๆ ในชั้นยังได้รับด้วย
  4. ต้องมีการสอนเรื่องทักษะทางสังคม
  5. การเรียนภาษาจะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนใช้ภาษาเป้าหมาย
  6. ผู้เรียนต้องรับผิดชอบงานของตนเอง
  7. มีการแลกเปลี่ยนความรู้ภายในกลุ่ม
  8. สมาชิกทุกคนภายในกลุ่มจะถูกกระตุ้นให้มีความรับผิดชอบ และส่งเสริมภาวะการเป็นผู้นำ
  9. ครูไม่เพียงแต่จะสอนภาษา แต่ยังสอนเรื่องการทำงานร่วมกันด้วย
วิดีโอสำหรับศึกษาเพิ่มเติมค่ะ


Task-Based Instruction

       Task-Based Instruction คือ การสอนโดยผ่านกิจกรรม เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้โดยงาน มีจุดประสงค์ที่ให้ผู้เรียนเกิดแนวคิด ทักษะ และทำความเข้าใจร่วมกันในกลุ่ม และสื่อออกมาในลักษณะภาษาของผู้เรียนเอง ถ้าผู้เรียนเกิดองค์ความรู้ใหม่ขึ้น ถือว่าประสบความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้

หลักการ

  1. งานที่ทำต้องมีจุดประสงค์ที่ชัดเจน
  2. ก่อนทำชิ้นงานจริงต้องมีการซ้อมก่อน
  3. ครูควรจะแยกขั้นตอนในการทำงานให้ชัดเจน
  4. หาวิธีการที่ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการทำงานให้สำเร็จ
  5. ครูจะสอนโดยใช้ภาษาใดก็ได้
  6. ครูช่วยผู้เรียนโดยการบอกภาษาที่ถูกต้อง
  7. มีการใช้ jigsaw task ในการสอน
  8. นักเรียนควรได้รับรู้ถึงความสำเร็จในการทำงาน
  9. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ออกแบบงานด้วยตนเอง


วิดีโอเพิ่มเติม


Content - Based Instruction

 วิธีสอนภาษาที่เน้นเนื้อหา (Content Based Instruction)

       วิธีสอนภาษาที่เน้นเนื้อหา คือ การเรียนการสอนแบบอิงเนื้อหา และทฤษฎีที่เน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ เป็น การสอนแบบ CBI นั้นเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษามากกว่าในมหาวิทยาลัย เนื่องจากทฤษฎีนี้จะมุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากเนื้อหาที่เรียน รวมทั้งฝึกให้ผู้เรียนได้รู้จักแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ ฉะนั้นการเรียนการสอนวิธีนี้จึงเหมาะสมกับการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษามากที่สุด

หลักการ
  1. เนื้อหาวิชาต่างๆ จะถูกใช้เพื่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษด้วย
  2. ใช้ประสบการณ์เดิมของผู้เรียน
  3. เชื่อมโยงประสบการณ์เดิมเพื่อเป็นการกระตุ้นเด็ก
  4. เริ่มจากสิ่งง่ายๆ แล้วค่อยเพิ่มความยาก
  5. การเรียนภาษาจะเรียนได้ดี เมื่อถูกใช้เป็นสื่่อกลางในการแลกเปลี่ยนเนื้อหา
  6. เน้นการเรียนคำศัพท์ในบริบท
  7. ถ้าผู้เรียนได้เรียนจากเรื่องจริง จะทำให้ใช้ภาษาได้ดีขึ้น
  8. ผู้เรียนจะเรียนรู้ภาษาและเนื้อหาในบริบทของวัสดุและงานแท้ๆ
  9. ความสามารถในภาษาจะรวมทั้งความสามารถในการอ่าน, การอภิปราย และการเขียนจากเนื้อหาอื่นๆ
วิดีโอศึกษาเพิ่มเติม


Communicative language Teaching

       การสอนภาษาแบบสื่่อสาร (Communicative Language Teaching - CLT) 
     
        การสอนภาษาตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร เป็นการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้ ซึ่งมุ่งเน้นความสำคัญของตัวผู้เรียนจัดลำดับการเรียนรู้เป็นขั้นตอนตามกระบวนการใช้ความคิดของผู้เรียน โดยเริ่มจากการฟังไปสู่การพูด การอ่าน การจับใจความสำคัญ ทำความเข้าใจ จดจำแล้วนำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้  มีการจัดกิจกรรมที่เน้น ผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมาย ได้ฝึกใช้ภาษาในสถานการณ์ที่มีโอกาสพบได้จริงในชีวิตประจำวัน โดยยังคงให้ความสำคัญกับโครงสร้างไวยากรณ์

ขั้นตอนการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร
  1. ขั้นการนำเสนอเนื้อหา (Presentation) ในการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ การนำเสนอเนื้อหาใหม่ จัดเป็นขั้นการสอนที่สำคัญขั้นหนึ่ง ในขั้นนี้ครูจะให้ข้อมูลทางภาษาแก่ผู้เรียน ซึ่งนับเป็นการเริ่มต้นการเรียนรู้ มีการนำเสนอเนื้อหาใหม่ โดยจะมุ่งเน้นการให้ผู้เรียนได้รับรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายและรูปแบบภาษาที่ใช้กันจริงโดยทั่วไป
  2. ขั้นการฝึกปฏิบัติ (Practice) เป็นขั้นตอนที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกใช้ภาษาที่เพิ่งจะเรียนรู้ใหม่จากขั้นการนำเสนอเนื้อหาในลักษณะของการฝึกแบบควบคุมหรือชี้นำ โดยมีครูผู้สอนเป็นผู้นำในการฝึกไปสู่การฝึกแบบค่อยๆปล่อยให้ทำเองมากขึ้น เป็นแบบกึ่งควบคุม
  3. ขั้นการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร (Production) ขั้นการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร นับเป็นขั้นที่สุดขั้นหนึ่ง เพราะการฝึกใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารเปรียบเสมือนการถ่ายโอนการเรียนรู้ภาษาจากสถานการณ์ในชั้นเรียนไปสู่การนำภาษาไปใช้จริงนอกชั้นเรียน การฝึกใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารโดยทั่วไป มุ่งหวังให้ผู้เรียนได้
แบบฝึกปฏิบัติของวิธีสอนแบบ CLT
  1. Mechanical practice  เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนสามารถปฏิบัติได้โดยไม่ต้องมีความเข้าใจในเรื่่องของภาษา
  2. Meaningful practice เป็นกิจกรรมที่มีการควบคุมตัวภาษา นักเรียนต้องเลือกทางเลือกที่ถูกต้องเพื่อมาใช้ในการเรียนภาษา
  3. Communicative practice เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนใช้ภาษาในบริบทที่มีการสนทนาจริง
กิจกรรมที่ใช้ในการสอน
  1. Information Gap Activities เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนทำเป็นคู่หรือกลุ่ม มีการพูดแลกเปลี่ยนข้อมูล    ซึ่่งกันและกันเพื่อให้ได้งานปฏิบัติที่สมบูรณ์
  2. Jigsaw Activities  ที่เน้นให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์ทำงานเป็นกลุ่มร่วมมือกัน
  3. Accuracy and Fluency activities เป็นกิจกรรมการอ่านออกเสียงเป็นการอ่านเพื่อฝึกความถูกต้องและความคล่องแคล่ว
     วิดีโอศึกษาเพิ่มเติม


  

Community Language Learning - CLL


วิธีสอนแบบกลุ่มสัมพันธ์ (community language learning - CLL) 

       การสอนแบบนี้คิดขึ้นใน ปี 1970 โดย Charles A. Curran ศาตราจารย์สาขาจิตวิทยาแนะแนวแห่งมหาวิทยาลัยLoyola, Chicago Curran ประยุกต์แนวคิดนี้มาจากเทคนิคการแนะแนวครูจะเป็นผู้ให้คำปรึกษา และพยายามที่จะคอยสนองความต้องการในการใช้ภาษาของผู้เรียนเหมือนกับผู้เรียนเป็นผู้มารับคำปรึกษา บรรยากาศในห้องเรียนจัดเหมือนกับชุมชน (community) เน้นให้ทุกคนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน กระบวนการเรียนภาษาจะเปรียบเหมือนกับการเจริญเติบโตของมนุษย์เริ่มจากทารกที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ จนกระทั่งถึงขึ้นที่เป็นอิสระหรือเป็นผู้ใหญ่การช่วยเหลือแต่ละขั้นของครูจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้เรียน
       การสอนแบบนี้ส่วนมากจะไม่มีแผนการเรียนที่ชัดเจนขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้เรียน โดยปกติแล้วการเรียนการสอนครูจะให้ผู้เรียนพูดแสดงความรู้สึกเป็นภาษาของผู้เรียน แล้วครูจะแปลหรือตีความที่นักเรียนพูดให้ทั้งชั้นฟังบรรยากาศชั้นเรียนจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความรู้สึกและความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนภาษา และเกี่ยวกับบทเรียนที่เรียน

หลักการสอนวิธีนี้มีดังนี้
  • การแปล (translation) ผู้เรียนนั่งเป็นวงกลม ผู้เรียนพูดข้อความที่ต้องการจะแสดงความคิดหรือความรู้สึก ผู้สอนแปล ข้อความนั้นผู้เรียนพูดตามผู้สอน 
  • การทำงานกลุ่ม (group work) บางครั้งผู้สอนจะให้ผู้เรียนทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มมีการกำหนดหัวข้อแล้วร่วมกันอภิปรายช่วยกันเตรียมบทสนทนา เตรียมเรื่องที่จะพูดหน้าชั้น เป็นต้น 
  • การบันทึกเสียง (recording) นักเรียนจะบันทึกเสียงของคนในขณะที่พูดภาษาเป้าหมาย
  • ถอดความ (transcription) นักเรียนถอดคำพูดหรือบทสนทนาที่บันทึกไว้ สำหรับฝึกและวิเคราะห์โครงสร้างภาษา 
  • วิเคราะห์ (analysis) นักเรียนศึกษาวิเคราะห์โครงสร้างภาษาความหมายของคำวลีประโยค ที่ถอดจากเทป 
  • สะท้อนกลับ/ตั้งข้อสังเกต (reflection/observation) ผู้เรียนรายงานความรู้สึกและประสบการณ์และอื่น ๆ 
  • การฟัง (listening) นักเรียนฟังครูอ่านบทสนทนา 
  • สนทนาอย่างอิสระ (free conversation) นักเรียนสนทนากับครูกับเพื่อน อาจเป็นการแสดงความคิดเห็น ความรู้สึก และอื่น ๆ
เทคนิคการสอน
  • บันทึกบทสนทนาของนักเรียน
  • ถอดความบทสนทนา
  • สะท้อนเนื้อหาและประสบการณ์
  • กระตุ้นให้เกิดการฟัง
  • ครูช่วยผู้เรียนโดยการย้ำบ่อยๆ
  • ทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มย่อย

วิดีโอแสดงวิธีสอนแบบ CLL








Total Physical Response (TPR)

วิธีสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง ( Total Physical Response Method ) 

         การสอนภาษาโดยการใช้ท่าทาง โดยให้ผู้เรียนฟังคำสั่งจากครูแล้วผู้เรียนทำตาม เป็นการประสานการฟังกับการใช้การเคลื่อนไหวของร่างกายเป็นการตอบรับให้ทำตามโดยผู้เรียนไม่ต้องพูด  แนวการสอนแบบนี้ให้ความสำคัญต่อการฟังเพื่อความเข้าใจ เมื่อผู้ฟังเข้าใจเรื่องที่ฟังอยู่และสามารถปฏิบัติตามได้ก็จะช่วยให้จำได้ดี

Main Characteristics :

    1. ครูจะทำหน้าที่เป็นผู้ "กำกับ" และผู้เรียนจะทำหน้าที่เป็นผู้ "แสดง"
    2. เน้นทักษะการฟังและท่าทาง
    3. ใช้ประโยคคำสั่ง และคำถาม
    4. ในระหว่างการเรียนครูจะต้องสร้างบรรยากาศใหเสนุกสนาน อาจจะมีมุขตลก ขำๆ
    5. นักเรียนจะไม่ถูกบังคับให้พูดหากยังไม่พร้อม
    6. เน้น ไวยากรณ์ คำศัพท์ และ ภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร

Teaching Steps:

    1. ครูจะออกคำสั่งเป็นภาษาเป้าหมาย และแสดงให้ดูเป็นตัวอย่าง
    2. หาอาสาสมัคร มาแสดงให้ดูเป็นตัวอย่าง
    3. ครูให้คำสั่งใหม่ ๆ
    4. ครูออกคำสั่งใหม่ที่ผู้เรียนไม่เคยได้ยินมาก่อน
    5. ครูเขียนคำสั่งนั้นบนกระดาน

 Teaching Techniques:

    1. ใช้คำสั่ง และแสดงตัวอย่างให้ดู
    2. สลับบทบาท
    3. คำสั่งที่ใช้ต้องมีลำดับขั้นตอน

วิดีโอสำหรับศึกษาเพิ่มเติม




Desuggestopedia


การสอนแบบชักชวน (Suggestopedia) 

         การสอนแบบชักชวนพัฒนาขึ้นมา โดยนักจิตวิทยาการศึกษาชาวบูลกาเรีย ชื่อ Georgi Lozanov วิธีสอนนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของแนวคิดว่าสมองซีกกขวาของมนุษย์พัฒนาได้ดีจากการใช้เทคนิค "ชักชวน" (suggestion) ดังนั้นsuggestopedia จึงเป็นวิธีที่ครูต้องมีทักษะ ในการร้องเพลงแสดงท่าทาง และรู้เทคนิคการบำบัดทางจิตวิทยา (psychotherapeutic techniques) วิธีการสอนจะใช้เทคนิคการออกกำลังกาย เพื่อขจัดความวิตกกังวลที่เป็นเหตุให้สะกัดกั้นการเรียนรู้ของผู้เรียนกิจกรรมต่างๆดังกล่าวประกอบด้วยการใช้ดนตรี รูปภาพ (visual image) บทสนทนาต่าง ๆ ที่ให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมเหล่านี้ภายใต้บรรยากาศที่สบายไม่เป็นทางการไม่มีการแก้ไข ข้อผิดพลาดของผู้เรียน
        วิธีสอนแบบนี้เน้นกิจกรรมการฟัง ซึ่งก็คือ ผู้สอนจะใช้ภาษาสนทนา ที่มีคำแปลเป็นภาษาถิ่นรวมทั้งไวยากรณ์และคำศัพท์จากบทสนทนาไว้ด้านหนึ่งด้วย ผู้สอนจะอ่านบทสนทนาให้ผู้เรียนฟัง 3 ครั้ง ในครั้งแรก ผู้เรียนฟังบทสนทนาที่ครูอ่านให้ฟังโดยอ่านคำแปลไปด้วย ในการอ่านครั้งที่สองผู้เรียนอาจดูบทเรียนไปด้วย และจดรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ในการอ่านครั้งที่สามนั้น ผู้อ่านจะเปิดเพลงคลาสสิกไปพร้อม ๆ กัน ผู้เรียนได้รับอนุญาตให้วางหนังสือ และเอนหลังพิงพนักเก้าอี้ตามสบาย จะหลับตาฟัง หรือจะหยิบบทเรียนขึ้นมาอ่านตามก็ได้ ในขั้นต่อไปอาจให้ผู้เรียนเล่นเกมทางภาษา การเล่นละครสั้น การร้องเพลง การถามตอบเพื่อให้ภาษาในการสื่อสารการจัดกิจกรรมจะทำเป็นกลุ่มผู้เรียนจะไม่ถูกบังคับให้ทำงานเป็นรายบุคคลกิจกรรมทุกกิจกรรมต้องเสริมให้ผู้เรียนเกิดความมั่นใจ และรู้สึกว่าไม่ถูกบังคับให้ทำในระยะเริ่มแรกผู้สอนจะไม่แก้ไขข้อผิดพลาดทันที แต่จะนำสิ่งที่ถูกต้องมาสอนในวันต่อไป

วิดีโอแสดงตัวอย่างการสอน


The Silent Way


วิธีสอนแบบเงียบ

       วิธีสอนแบบเงียบ   เป็นวิธีสอนที่ริเริ่มโดย Caleb Gattegno ในปี ค.ศ. 1963 วิธีสอนแบบนี้มิได้เกิดจากวิธีสอนแบบความรู้ความเข้าใจ แต่มีบางอย่างที่คล้ายคลึงกัน เช่น หลักการพื้นฐานที่ว่า "การสอนเป็นรองการเรียน" เป็นหลักการที่เน้นความรู้ความเข้าใจ เน้นให้ผู้เรียนคิดเองใช้ความสามารถของตนเองครูเป็นเพียงผู้ช่วยเหลือในสิ่งที่จำเป็นเท่านั้น ผู้เรียนจะต้องพยายามนำสิ่งที่ตนรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ และต้องจดจ่ออยู่กับบทเรียนตลอดเวลา ในระยะเริ่มเรียนผู้สอนจะสอนเสียงซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญ ของภาษาทุกภาษา ผู้สอนจะใช้แผนภูมิเสียงและสีมาช่วยในการเรียนการสอนและอาศัยความรู้เกี่ยวกับ เสียงในภาษาแม่มาเชื่อมโยงกับเสียงในภาษาใหม่ที่เรียน และยังใช้ความรู้เกี่ยวกับสีมาช่วยในการเรียนคำศัพท์ตลอดจนการอ่านออกเสียงคำเหล่านั้น จากนั้นผู้สอนจะสร้างสถานการณ์ที่ดึงความสนใจของผู้เรียนไปยังโครงสร้างของภาษาสถานการณ์จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายด้วย ส่วนใหญ่แล้วสถานการณ์หนึ่งจะเน้นการสอนโครงสร้างเดียวเท่านั้น ผู้สอนจะเป็นฝ่ายเงียบ แต่ขณะเดียวกันเป็นผู้สร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้คิด ผู้สอนจะพูดเมื่อทำเป็นต้องชี้ทางในการแก้ปัญหาให้แก่ผู้เรียนส่วนผู้เรียนนั้นต้องมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน เรียนรู้จากกันและกัน

       การสอนแบบเงียบนี้มักจะไม่มีหลักสูตรเป็นแบบแผนที่ชัดเจนแน่นอนผู้สอนจะเริ่มสอนจากสิ่งที่ผู้เรียนเรียนรู้แล้ว และสอนจากโครงสร้างหนึ่งไปอีกโครงสร้างหนึ่งต่อ ๆ ไปเมื่อผู้เรียนมีความรู้กว้างขวางขึ้น โครงสร้างเดิมจะถูกนำมาใช้อย่างต่อเนื่อง หลักสูตรจึงมักพัฒนาไปตามความต้องการของผู้เรียน โดยพัฒนาทักษะทั้ง 4 ผู้สอนจะประเมินผลการเรียนของผู้เรียนได้ตลอดเวลาเนื่องจากการสอนเป็นรองการเรียน ผู้สอนต้องตอบสนองต่อความต้องการที่เกิดขึ้นทันทีของผู้เรียน ซึ่งผู้สอนอาจสังเกตได้จากพฤติกรรมของผู้เรียน และอาจประเมินได้จากความสามารถของผู้เรียนในการถ่ายโอนสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ ดังนั้นผู้สอนจึงประเมินผลการเรียนจากความก้าวหน้าของผู้เรียนมากกว่าความถูกต้องเป็นการเน้นการเรียนรู้ตามความสามารถของแต่ละบุคคล และเนื่องจากผู้สอนเห็นว่า ความผิดพลาดของผู้เรียนเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ จึงเป็นเรื่องธรรมดาสามัญที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ข้อผิดพลาดจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ผู้สอนจึงควรใช้ข้อผิดพลาดนั้นเป็นพื้นฐานในการตัดสินว่า บทเรียนต่อไปควรจะเป็นอย่างไรและพยายามให้ผู้เรียนแก้ไขก็ผิดเหล่านั้นด้วยตนเอง โดยให้หัดฟังเปรียบเทียบสิ่งที่ตนพูดกับบรรทัดฐานภายในที่ตนเองพัฒนาขึ้น เมื่อผู้เรียนไม่สามารถจะแก้ไขได้ด้วยตนเองแล้วผู้สอนจึงจะให้ข้อมูลที่ถูกต้องในที่สุด

        การออกแบบการเรียนการสอนจะให้นักเรียนรู้จักโครงสร้างของภาษาและคำ จุดสำคัญของวิธีนี้คือครูจะเงียบซึ่งโดยปกติแล้ว ครูจะแนะนำศัพท์หรือประโยคใหม่แล้วให้ผู้เรียนฝึกร่วมกัน โดยที่ครูไม่เข้าไปแก้ไขข้อผิดพลาดเพราะมีความเชื่อว่าสิ่งที่สำคัญถ้าผู้เรียนรู้ตัวว่าตัวเองทำอะไร และรับผิดชอบในสิ่งที่กำลังทำอยู่จะส่งผลต่อการเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียน

วิดีโอศึกษาเพิ่มเติม
 

The Audio - Lingual Method

วิธีสอนแบบฟัง-พูด ( Audio-Lingual Method )

       วิธีสอนแบบฟัง-พูด เป็นวิธีการสอนตามหลัก ภาษาศาสตร์ และวิธีการสอนตามแนวโครงสร้าง เป็นการสอนตามหลักธรรมชาติ คือ ฟัง พูด อ่าน และเขียน สอนครบองค์ประกอบตามลำดับจากง่ายไปหายาก

หลักของวิธีนี้ มีอยู่ว่า
     
     1. สื่อบทสนทนา
     2. การท่องจำ การเลียนแบบ และ overleaening
     3. การวิเคราะห์โครงสร้างของประโยคก่อนนำมาสอน
     4. สอนโครงสร้างไวยากรณ์ และการฝึกแบบซ้ำๆ
     5. จะมีการอธิบายไวยากรณ์เพียงเล็กน้อย และจะสอนไวยากรณ์ ในรูปแแบบ Inductive
     6. เรียนคำศัพท์ที่จำเป็นต้องนำไปใช้เท่านั้น
     7. ฝึกการออกเสียงให้ถูกต้อง
     8. ใช้ภาษาแม่เพียงเล็กน้อย
     9. ใช้สือการสอนภาษาที่หลากหลาย
     10. มีการเสริมแรงต่อผู้เรียนที่รวดเร็ว

ขั้นตอนการสอน
  • นักเรียนฟังบทสนทนา
  • ฝึกฝนการใช้ประโยค
  • ฝึกฝนบทสนทนา พร้อมกันทั้งชั้น, เป็นกลุ่ม, รายบุคล
  • ปรับเปลี่ยนใส่ข้อมูลของตนเองในบทสนทนา
เทคนิคการสอน
     1. จำบทสนทนา
     2. Backward Built-up Drill
     3. Repetition drill (การฝึกแบบซ้ำๆ)
     4. การฝึกโครงสร้างประโยดเดิม แล้วถามเพื่อนต่อไปเรื่อย ๆ
     5. ฝึกเปลี่ยนคำในประโยคแค่คำเดียว
     6. ฝึกเปลี่ยนคำในประโยคหลายคำ
     7. ฝึกเปลี่ยนประโยคเป็นประโยคคำถาม บอกเล่า ปฏิเสธ
     8. ฝึกการถาม-ตอบ
     9. ฝึกการออกเสียง
    10. เติมคำในช่องว่าง / ทำบทสทนาให้สมบูรณ์
    11.Grammar Game

วีดีโอตัวอย่างจะได้เข้าใจวิธีการสอนมากยิ่งขึ้น


The Direct Method

วิธีสอนแบบตรง (Direct Method)

         เป็นวิธีการสอนที่เน้นทักษะการฟัง และพูดให้เกิดความเข้าใจก่อน แล้วจึงฝึกทักษะการอ่านและการเขียน โดยมีความเชื่อว่า เมื่อนักเรียนสามารถฟังและพูดได้แล้ว ก็จะสามารถอ่านและเขียนได้ง่าย และเร็วขึ้น ไม่เน้นไวยากรณ์มากนัก บทเรียนส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมการสนทนา นักเรียนได้ใช้ภาษาเต็มที่

หลักการของวิธีนี้มีอยู่ว่า

     1. การเรียนการสอนจะใช้ภาษาเป้าหมายเท่านั้น
     2. เน้นคำศัพท์และประโยคที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
     3. สอนแกรมม่า แบบ Inductive
     4. ใช้ oral communication skill ในการถาม ตอบ แลกเปลี่ยนความรู้ ระหว่างครู และ นักเรียน
     5. ใช้การสอนแบบอธิบาย
     6. สอนคำศัพท์ แบบทำให้เห็นภาพ อาจใช้การสาธิต สิ่งของ รูปภาพ มาประกอบ
     7. สอนฟัง และพูด
     8. เน้นการออกเสียง และแกรมม่า ให้ถูกต้อง
ขั้นตอนการสอน
  • ฟัง และ อ่าน
  • สอนคำศัพท์
  • ฝึกการออกเสียง
  • ถามคำถาม เพื่อตรวจสอบความเข้าใจ
  • สอนแกรมม่า
  • ทำแบบฝึกหัด
เทคนิคการสอน
  • การอ่านออกเสียง
  • ฝึกถามตอบ
  • ให้นักเรียนแก้ไขข้อผิดพลาด
  • แบบฝึกสนทนา
  • แบบฝึกเติมคำในช่องว่าง
  • คำสั่ง
  • วาดแผนผัง
  • เขียน Paragraph
วิดีโอศึกษาเพิ่มเติมสำหรับวิธีสอนแบบ Direct Method


The Grammar - Translation Method


วิธีการสอนไวยากรณ์และการแปล ( Grammar Translation )

       วิธีการสอนไวยากรณ์และการแปล เป็นวิธีการสอนที่เน้นกฎไวยากรณ์และใช้การแปลเป็นสื่อให้นักเรียนเข้าใจบทเรียน

หลักของวิธีนี้มีอยู่ว่า 
  • เป้าหมายของการเรียนคืออ่านออกเขียนได้ สามารถแปลประโยคเป็นภาษาเป้าหมายได้ 
  • เน้นการอ่านและเขียนเป็นหลัก ( ไม่เน้นฟังและพูด) 
  • ท่องจำคำศัพท์ 
  • เรียนหลักไวยากรณ์ 
  • เน้นความถูกต้อง 
  • สอนไวยากรณ์แบบ Deductive 
  • ใช้ภาษาแม่ในการสอน 

ขั้นตอนการสอน
     1. สอนคำศัพท์

     2. เรียนโครงสร้างไวยากรณ์ และ แบบฝึกหัด

     3. อ่าน และตอบคำถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจ

     4. ตรวจการบ้าน, ทบทวน, เขียนประโยค และแปลประโยค

เทคนิคการสอน
  • แปลบทวรรณกรรม 
  • อ่านและตอบคำถาม 
  • คำศัพท์ เหมือน และ ต่าง 
  • การสอนแบบ deductive 
  • เติมคำในช่องว่าง 
  • ท่องจำคำศัพท์ 
  • แต่งประโยค 
  • เขียนความเรียง

วิดีโอสาธิตการสอนแบบ Grammar Translation Method

วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556

ประวัติการสอนภาษาโดยย่อ


         A BRIEF HISTORY OF LANGUAGE TEACHING
       
         การสอนภาษาเริ่มต้นจากการสอนภาษาละติน เมื่อ 500 ปีมาแล้ว ต่อมาในศตวรรษที่ 16 ภาษาละตินก็ถูกแทนที่ด้วยภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และอิตาลี ซึ่งการสอนเริ่มแรกนั้นจะเน้นการท่องจำเนื้อหา และโครงสร้างเป็นหลัก หรือที่เรียกว่า Grammar school's ภาษาที่ใช้ในการสอนก็จะเป็นภาษาละติน หรือภาษาแม่ของผู้เรียน

      Grammar translation method ก็จะเน้นการเรียนหลักไวยากรณ์ เน้นการแปล อ่าน และเขียน ท่องจำคำศัพท์ ใช้การสอนแบบ deductive (ครูจะบอกโครงสร้างก่อน แล้วตามด้วยตัวอย่าง ) การสอนก็จะใช้ภาษาแม่ของนักเรียน

      ในยุคต่อมาคือยุคก่อนการปฎิรูป ( Pre-reform movement )
  •  The French man C. Marcel <1973-1896>จะสอนภาษาแม่ของนักเรียนเชื่อมต่อกับภาษาเป้าหมาย เน้นทักษะการอ่าน
  • The Englishman T. Prendergast <1806-1880>  ได้ทำการสังเกตและบันทึกนักเรียน พบว่า เด็กใช้บริบทและสถานการณ์ เข้ามาช่วยในการจำ
  • The Frenchman F. Gouin < 1831-1896>  Gouin Series  คือ การสอนสิ่งใหม่ในบริบท ใช้ท่าทางเข้ามาช่วย ไม่มีการแปล ไม่อธิบายแกรมม่า เน้นความเชื่อมโยงของประโยคต่าง ๆ
       หลังจากนั้นก็เข้าสู่ยุดปฎิรูป ( The reform movement )
  • Henry Sweet < 1845-1912 > : The Practical Study of Languages.
            เน้นการพูด ฝึกออกเสียงให้ถูกต้อง ใช้ Conversation and Dialogues สอนแกรมม่าแบบ Inductive( สอนตัวอย่าง ตามด้วนโครงสร้าง ) เชื่อมโยงกับภาษาเป้าหมาย สอนจากง่ายมายาก สอนทุกทุกทักษะ คือ ฟัง พูด อ่าน เขียน   เริ่่มมี IPA หรือ  International Phonetic Alphabet
  • Wilhelm Vietor <1850-1918> : Languages Teaching Must Start Afresh.
นักปฏิรูปเชื่อกันว่า

  1. ภาษาพูดเป็นภาษาหลัก
  2. การออกเสียงในการสอนและการฝึกอบรมครู
  3. ผู้เรียนควรจะเรียนรู้การฟังก่อนที่จะได้เห็นภาษาในรูปแบบของการเขียน
  4. คำที่นำเสนอในประโยคและฝึกความหมายในบริบทที่ไม่โดดเดี่ยว
  5. สอนไวยากรณ์โดยวิธีอุปนัย
  6. หลีกเลี่ยงการแปลแม้ว่าภาษาแม่จะสามารถนำมาใช้เพื่ออธิบายคำศัพท์ใหม่หรือตรวจสอบความเข้าใจ